วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

หลักการเบื้องต้นของการแก้ปัญหา

                                                หลักการเบื้องต้นของการแก้ปัญหา

ในการดำรงชีวิตประจำวัน การเรียน หรือการทำงาน  จะพบปัญหาหรือความต้องการที่เกิดขึ้นตลอดเวลา จึงต้องคิดหาวิธีการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหานั้นๆโดยปัญหาหนึ่งๆอาจมีวิธีการแก้ปัญหาได้หลายวิธี
ซึ่งแต่ละวิธีจะมีขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องกำหนดและเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

                    การแก้ปัญหาสามารถกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้








ขั้นที่1 ทำความเข้าใจปัญหา
เป็นขั้นตอนในการทำความเข้าใจปัญหาหรือความต้องการอย่างละเอียด  โดยการแยกแยะว่ามี่ข้อมูลอะไร อะไรคือปัญหา หรือต้องการให้หาอะไร แล้วพิจารณาว่าข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดให้เพียงพอที่จะหาคำตอบของปัญหาหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอให้หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหาได้

ขั้นที่2 หาและเลือกวิธีการแก้ปัญหา

ปัญหาหนึ่งๆอาจมีวิธีการแก้ปัญหาได้หลายวิธีแตกต่างกัน ซึ้งบางวิธีอาจใช้เวลาในการแก้ปัญหามาก
ดังนั้นในการแก้ปัญหาจึงต้องหาวิธีที่เหมาะสมที่สุด

ขั้นที่3 นำเอาวิธีการที่เลือกไปใช้แก้ปัญหา
เมื่อเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมได้แล้ว จึงดำเนินการแก้ปัญหา

ขั้นที่4 ตรวจสอบ
เมื่อทำการแก้ปัญหาตามวิธีการที่เลือกแล้วต้องตรวจสอบดูว่า วิธีการที่เลือกมานั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ หรือเป็นวิธีการแก้ที่ได้ผลลัพธ์ถูกต้องหรือไม่ ถ้าการแก้ปัญหาไม่ได้ผลหรือได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร
ให้ย้อนกลับไปปฏิบัติตามขั้นตอนใหม่อีกครั้ง

 ตัวอย่างการใช้หลักการเบื้องต้นของการแก้ปัญหา


               ในวิชาการงานอาชีพเเลละเทคโนโลยี ครูให้นักเรียนทำรายงานส่ง เรื่อง หลักการทำงานเเละอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์ โดยให้จัดทำเป็นรูปเล่มพร้อมภาพประกอบสวยงาม

ขั้นที่ 1 ทำความเข้าใจปัญหา ในการจัดทำรายงานสามารถทำได้หลายวิธี เเต่ต้องการวิธีที่จะทำให้รายงานที่เป็นระเบียบ สวยงาม และสามารถเเก้ไขเนื้อหาได้เมื่อเกิดความผิดพลาด

ขั้นที่ 2 หาและเลือกวิธีการเเก้ปัญหา เมื่อทำความเข้าใจปัญหาเเล้ว จะพบว่าการจัดทำรายงานมี 3 วิธีการด้วยกันคือ
ซึ่งวิธีการจัดทำรายงานแต่ละวิธีมีข้อดี-ข้อเสีย เเละระยะเวลาในการทำเเตกต่างกัน

การจัดเก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลได้เปรียบกว่าการจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูล  ดังนี้


1. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล  การจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูล  โดยข้อมูลเรื่องเดียวกันอาจมีอยู่หลายแฟ้มข้อมูล     ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลได้ 
(  Inconsistency  ) 

 2. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้  ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน  เมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลจากฐานข้อมูล   ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลที่แตกต่างกันจะทำได้ง่าย
  3. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล  การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะแฟ้มข้อมูล  อาจทำให้ข้อมูล      ประเภทเดียวกันถูกเก็บไว้หลาย ๆ แห่ง  ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน  (Reclundancy  )
ขั้นที่ 3  นำเอาวิธีการที่เลือกไปใช้เเก้ปัญหา เลือกจัดทำรายงานโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพราะมีข้อดีมากกว่าวิธีการอื่น

ขั้นที่ 4 ตรวจสอบ นำรายงานที่เสร็จเรียบร้อยเเล้วมาอ่านทบทวนอีกครั้ง เมื่อต้องการเเก้ไขคำ เพิ่มเนื้อหา หรือเปลี่ยนภาพประกอบ ก็สามารถเเก้ไขได้ทันที่

คำถาม

1.กลุ่มของนักเรียนเลือกเเก้ปัญหาการเรียนไม่เข้าใจในวิชาใด เพราะเหตุ

2.นักเรียนคิดว่ากิจกรรมนี้มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร

3.นักเรียนคิดว่าขั้นตอนในการเเก้ปัญหาขั้นตอนใดสำคัญมากที่ เพราะเหตุใด

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ





                                      อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ



        1.  ฮาร์ดดิส


   เป็นที่บรรจุข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ เก็บโปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ หรือต้องการจะเก็บรักษาเอาไว้ใช้งานในคราวต่อไป จะแตกต่างกับหน่วยความจำแรมตรงที่ ดิสก์จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้ได้ตลอดเวลาแม้ว่าคุณจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแล้วก็ตาม โดยข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ภายในดิสก์จะถูกบันทึกเอาไว้บนผิวหน้าแม่เหล็กของดิสก์


                                   



   2.  แฟลชไดรฟ์


     เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลโดยใช้หน่วยความจำแบบแฟลชทำงานร่วมกับยูเอสบี 1.1 หรือ 2.0 มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ในปัจจุบัน แฟลชไดรฟ์มีความจุตั้งแต่ 4 GB ถึง 2TB โดยทั่วไปไดรฟ์จะทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการซึ่งรวมถึง วินโดวส์ แมคอินทอช ลินุกซ์ และยูนิกซ์
แฟลชไดรฟ์ รู้จักกันในชื่อต่างๆ รวมถึง "ทัมบ์ไดรฟ์" "คีย์ไดรฟ์" "จัมป์ไดรฟ์ และชื่อเรียกอื่น โดยขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ปัจจุบันชื่อสากล จะเรียกว่าแฟลชไดรฟ์



                                              


3.  แผ่นซีดี 
ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากันทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก พิต สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "แลนด์" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น
แผ่นซีดีรอมเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลแบบออฟติคอล (Optical Storage) ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอม ทำมาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอะลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา เมื่อแสงเลเซอร์ที่ยิงมาสะท้อนกลับไป ที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector ก็อ่านข้อมูลที่ได้รับกลับมาว่าเป็นอะไร และส่งค่า 0 และ 1 ไปให้กลับซีพียู เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป