วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

หลักการเบื้องต้นของการแก้ปัญหา

                                                หลักการเบื้องต้นของการแก้ปัญหา

ในการดำรงชีวิตประจำวัน การเรียน หรือการทำงาน  จะพบปัญหาหรือความต้องการที่เกิดขึ้นตลอดเวลา จึงต้องคิดหาวิธีการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหานั้นๆโดยปัญหาหนึ่งๆอาจมีวิธีการแก้ปัญหาได้หลายวิธี
ซึ่งแต่ละวิธีจะมีขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องกำหนดและเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

                    การแก้ปัญหาสามารถกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้








ขั้นที่1 ทำความเข้าใจปัญหา
เป็นขั้นตอนในการทำความเข้าใจปัญหาหรือความต้องการอย่างละเอียด  โดยการแยกแยะว่ามี่ข้อมูลอะไร อะไรคือปัญหา หรือต้องการให้หาอะไร แล้วพิจารณาว่าข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดให้เพียงพอที่จะหาคำตอบของปัญหาหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอให้หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหาได้

ขั้นที่2 หาและเลือกวิธีการแก้ปัญหา

ปัญหาหนึ่งๆอาจมีวิธีการแก้ปัญหาได้หลายวิธีแตกต่างกัน ซึ้งบางวิธีอาจใช้เวลาในการแก้ปัญหามาก
ดังนั้นในการแก้ปัญหาจึงต้องหาวิธีที่เหมาะสมที่สุด

ขั้นที่3 นำเอาวิธีการที่เลือกไปใช้แก้ปัญหา
เมื่อเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมได้แล้ว จึงดำเนินการแก้ปัญหา

ขั้นที่4 ตรวจสอบ
เมื่อทำการแก้ปัญหาตามวิธีการที่เลือกแล้วต้องตรวจสอบดูว่า วิธีการที่เลือกมานั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ หรือเป็นวิธีการแก้ที่ได้ผลลัพธ์ถูกต้องหรือไม่ ถ้าการแก้ปัญหาไม่ได้ผลหรือได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร
ให้ย้อนกลับไปปฏิบัติตามขั้นตอนใหม่อีกครั้ง

 ตัวอย่างการใช้หลักการเบื้องต้นของการแก้ปัญหา


               ในวิชาการงานอาชีพเเลละเทคโนโลยี ครูให้นักเรียนทำรายงานส่ง เรื่อง หลักการทำงานเเละอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์ โดยให้จัดทำเป็นรูปเล่มพร้อมภาพประกอบสวยงาม

ขั้นที่ 1 ทำความเข้าใจปัญหา ในการจัดทำรายงานสามารถทำได้หลายวิธี เเต่ต้องการวิธีที่จะทำให้รายงานที่เป็นระเบียบ สวยงาม และสามารถเเก้ไขเนื้อหาได้เมื่อเกิดความผิดพลาด

ขั้นที่ 2 หาและเลือกวิธีการเเก้ปัญหา เมื่อทำความเข้าใจปัญหาเเล้ว จะพบว่าการจัดทำรายงานมี 3 วิธีการด้วยกันคือ
ซึ่งวิธีการจัดทำรายงานแต่ละวิธีมีข้อดี-ข้อเสีย เเละระยะเวลาในการทำเเตกต่างกัน

การจัดเก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลได้เปรียบกว่าการจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูล  ดังนี้


1. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล  การจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูล  โดยข้อมูลเรื่องเดียวกันอาจมีอยู่หลายแฟ้มข้อมูล     ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลได้ 
(  Inconsistency  ) 

 2. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้  ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน  เมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลจากฐานข้อมูล   ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลที่แตกต่างกันจะทำได้ง่าย
  3. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล  การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะแฟ้มข้อมูล  อาจทำให้ข้อมูล      ประเภทเดียวกันถูกเก็บไว้หลาย ๆ แห่ง  ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน  (Reclundancy  )
ขั้นที่ 3  นำเอาวิธีการที่เลือกไปใช้เเก้ปัญหา เลือกจัดทำรายงานโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพราะมีข้อดีมากกว่าวิธีการอื่น

ขั้นที่ 4 ตรวจสอบ นำรายงานที่เสร็จเรียบร้อยเเล้วมาอ่านทบทวนอีกครั้ง เมื่อต้องการเเก้ไขคำ เพิ่มเนื้อหา หรือเปลี่ยนภาพประกอบ ก็สามารถเเก้ไขได้ทันที่

คำถาม

1.กลุ่มของนักเรียนเลือกเเก้ปัญหาการเรียนไม่เข้าใจในวิชาใด เพราะเหตุ

2.นักเรียนคิดว่ากิจกรรมนี้มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร

3.นักเรียนคิดว่าขั้นตอนในการเเก้ปัญหาขั้นตอนใดสำคัญมากที่ เพราะเหตุใด

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ





                                      อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ



        1.  ฮาร์ดดิส


   เป็นที่บรรจุข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ เก็บโปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ หรือต้องการจะเก็บรักษาเอาไว้ใช้งานในคราวต่อไป จะแตกต่างกับหน่วยความจำแรมตรงที่ ดิสก์จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้ได้ตลอดเวลาแม้ว่าคุณจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแล้วก็ตาม โดยข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ภายในดิสก์จะถูกบันทึกเอาไว้บนผิวหน้าแม่เหล็กของดิสก์


                                   



   2.  แฟลชไดรฟ์


     เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลโดยใช้หน่วยความจำแบบแฟลชทำงานร่วมกับยูเอสบี 1.1 หรือ 2.0 มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ในปัจจุบัน แฟลชไดรฟ์มีความจุตั้งแต่ 4 GB ถึง 2TB โดยทั่วไปไดรฟ์จะทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการซึ่งรวมถึง วินโดวส์ แมคอินทอช ลินุกซ์ และยูนิกซ์
แฟลชไดรฟ์ รู้จักกันในชื่อต่างๆ รวมถึง "ทัมบ์ไดรฟ์" "คีย์ไดรฟ์" "จัมป์ไดรฟ์ และชื่อเรียกอื่น โดยขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ปัจจุบันชื่อสากล จะเรียกว่าแฟลชไดรฟ์



                                              


3.  แผ่นซีดี 
ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากันทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก พิต สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "แลนด์" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น
แผ่นซีดีรอมเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลแบบออฟติคอล (Optical Storage) ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอม ทำมาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอะลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา เมื่อแสงเลเซอร์ที่ยิงมาสะท้อนกลับไป ที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector ก็อ่านข้อมูลที่ได้รับกลับมาว่าเป็นอะไร และส่งค่า 0 และ 1 ไปให้กลับซีพียู เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป




                                        
                                                     
          



วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์

                                           งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์

   1. ปลาใน

ปลาในเป็นปลาที่มีครีบหน้าท้องที่เล็กมาก

   2. ปลาตะเพียน

ปลาตะเพียนเป็นปลาที่ไม่มีกระเพาะอาหาร

   3. ปลาก้างพระร่วง

ปลาก้างพระร่วงในทางวิทยาศาสตร์ว่าวงศ์ปลาเนื้ออ่อน

  4. ปลาดุกลำพัน

ปลาดุกลำพันเป็นปลาที่หายากใกล้สูญพันธุ์ในกลุ่มแม่น้ำทะเลสาบสงขลา

  5. ปลาในวงศ์ปลาดุก

 ปลาในวงศ์ปลาดุกไม่สามารถทรงตัวลอยอยู่ในน้ำเฉยๆได้







































































































































































วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติบุคคนสำคัญ

                                             

                                                             ประวัติของนายทวี บุญเกตุ

 

นายทวี บุณยเกตุ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 เวลา 13.20 น. ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง (ซึ่งขณะนั้นถือเป็นอำเภอเมือง จังหวัดตรัง) เป็นบุตรของพระยารณชัยชาญยุทธ์ (ถนอม บุณยเกตุ) กับคุณหญิงรณชัยชาญยุทธ์ (ทับทิม) โดยชื่อ ทวี มาจากการที่บิดาและมารดาสมรสกันในวันทวีธาภิเษก บุคคลที่เข้าร่วมงานเมื่อเลิกจึงมาในงานสมรสโดยไม่ได้ผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า ติดเหรียญตราทวีธาภิเษกเข้าร่วมงานเลย
นายทวีสมรสกับคุณหญิงอำภาศรี บุณยเกตุ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 สิริอายุได้ 67 ปี

    การศึกษา

    การรับราชการ

นายทวีจบการศึกษาวิชากสิกรรมเมื่อ พ.ศ. 2468 และรับราชการที่กระทรวงเกษตราธิการ หน้าที่การงานก้าวหน้าขึ้นจนเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมประมง เมื่อ พ.ศ. 2478 จากนั้นย้ายมาเป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2482 และขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อ พ.ศ. 2483